ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับทุกท่าน...สู่รั้วฟ้าขาว...ด้วยจริงใจ

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลพื้นฐาน



ประวัติ ที่ตั้ง สภาพพื้นที่เขตบริการและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาตามนโยบาย                                                                                    
          ชื่อ สถานศึกษา  โรงเรียนบ้านกันจาน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านกันจาน ตำบลกุดเสลา  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รหัสไปรษณีย์  ๓๓๑๐     โทรศัพท์ ๐๘๑-๙๗๖๗๙๙๘ โทรสาร     -                e-mail      kanchanschool @ hotmail.com  www.school..sskedu.go.th/kjan
          โรงเรียนบ้านกันจาน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่  ๒๓  เดือน พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๘๓  โดยนายอำเภอ               กันทรลักษ์  ในขณะนั้น ชาวบ้านได้มอบได้มอบที่ดินให้จัดตั้งโรงเรียน  ๔  ไร่  ซึ่งตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน                          ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งบ้านพักครู
-                    พ.ศ. ๒๔๙๗  ไดย้ายไปตั้งอยู่ที่ดินแปลงที่ ๒  ซึ่งมีพื้นที่ ๑๖  ไร่  ๓  งาน  เป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน
-                    พ.ศ. ๒๕๑o  นายสายทอง  วงศ์แก้ว  ครูใหญ่  คณะครู  ชาวบ้าน และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารไม้ ขนาด ๘ X ๒๗ เมตร เสาไม้  ๔o  ต้น  ไต้ถุนโล่ง หลังคามุงสังกะสี  ขนาด 
       ๓  ห้องเรียน  สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘  ได้ทำการรื้อถอนเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
-                    พ.ศ. ๒๕๑๖  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ อนุมัติเงินงบประมาณจัดสร้างบ้านพักครูแบบ ศก.๑๖ จำนวน  ๑  หลัง
-                    พ.ศ. ๒๕๒๙  สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ อนุมัติเงินงบประมาณ จัดสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ  ฝ.๓๓ จำนวน  ๓  ถัง และจัดสร้างส้วมแบบ สปช. ๖o๑/๒ จำนวน  ๑  หลัง
-                    พ.ศ. ๒๕๓o  สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ  อนุมัติเงินงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑o๑/๒๖ จำนวน ๑  หลัง ( ใช้จัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน )
-                    พ.ศ. ๒๕๕๑  ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์  ขนาด ๗ X ๑๘ เมตรโดยได้รับงบประมาณจากการบริจาค จำนวน  ๒oo,ooo  บาท
-                    พ.ศ. ๒๕๕๓  ต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง จำนวน ๒ห้องเรียน  โดยได้รับงบประมาณจากการบริจาค  จำนวน ๑oo,ooo  บาท  และรับงบประมาณโครงการปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนจากงบไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕  จำนวน ๙๒,๒oo บาท
ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖    ผู้บริหารโรงเรียนชื่อ  นางอุไรวรรณ   คำชัย   ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ ๑๘  ตุลาคม ๒๕๔๗  จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ๖ ปี ๔ เดือน
          
           ที่ตั้งของโรงเรียนมีอาณาเขต ดังนี้
                         -  ทิศเหนือจรดกับ ถนนสายกันจาน-กุดเสลา
                         -  ทิศใต้จรดกับ วัดบ้านกันจาน
                         -  ทิศตะวันออกจรดกับที่ดินของชาวบ้าน
                         -  ทิศตะวันตกจรดกับที่ดินของชาวบ้าน
            สถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านกันจาน   ตั้งอยู่ติดกับวัดบ้านกันจาน 
           พื้นที่ในเขตบริการประกอบด้วย บ้านกันจาน  หมูที่ ๒
    ภาพรวมชุมชนในพื้นที่การบริหารมีสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการด้านต่าง ๆ  ดังนี้
              ๑  ด้านจำนวนประชากร   ประชากร   มีประมาณ ๔๓๖   คน 
             ๒ ด้านศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ ๐๐ นับถือศาสนาพุทธ
             ๓ ด้านประเพณี/ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน คือประเพณีบายศรีสู่ขวัญ  ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่  บุญข้าวสากหรือสาร์ทหรือโดนตา   ส่วนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นคือ กลองยาว  ดนตรีพื้นเมืองพิณ แคน ซุง (เครื่องเล่นสายชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมในชนบทภาคอีสาน)  และความเชื่อเรื่องการรักษาโรคบางอย่างแบบรำบูชาผี (รำแถน) แต่ก็ส่วนน้อย  พิธีบวงสรวงเจ้าปู่ตา(เลี้ยงเบิกบ้าน)  
                 ๔ ด้านการประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ ๙o ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  อาชีพรับจ้างทั่วไปในต่างจังหวัดร้อยละ ๑o  ก่อให้เกิดปัญหานักเรียนขาดเรียน  การย้ายโรงเรียนบ่อย มีสาเหตุมาจากผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างทำให้เด็กต้องย้ายติดตามผู้ปกครองไปทำงานรับจ้างต่างถิ่น   
          ๕. ด้านเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มีสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน รายได้ของประชากรโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี ประมาณ ๑๔,๐๐๐ บาท 
   ๖  ด้านการศึกษา ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้น ป.๔ และ ป. ๖
           ปัจจุบันโรงเรียนบ้านกันจาน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  เปิดทำการสอน ๒ ระดับ  คือระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา ในรอบ ๔ ปีการศึกษาที่ผ่านมามีนักเรียนเฉลี่ยปีการศึกษาละ ๗๕ คน                     และคาดการณ์ใน ๔ ปีการศึกษาข้างหน้าจะมีนักเรียนเฉลี่ย ปีการศึกษาละ ๗๐ คน
           ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา                     ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนได้ถูกกำหนดให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนที่บริหารจัดการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม                     ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น